วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐีนางพญา วัดนางพญา พิษณุโลก

วัดนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับวัดราชบูรณะ ถัดไปทางทิศตะวันออก ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยเดียวกับวัดราชบูรณะ ต่างกันที่วัดนางพญาไม่มีพระอุโบสถมีแต่วิหาร วัดนางพญานี้มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง เรียกว่า "พระนางพญา" ซึ่งเล่าลือกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันหาบูชาได้ยากมาก ปัจจุบันวัดนางพญา มี "พระครูสุจิตธรรมวิมล" หรือ "หลวงพ่อชุบ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

"พระครูสุจิตธรรมวิมล" กล่าวถึง พระนางพญา ซึ่งเป็นวัตถุมงคลยอดนิยมของวัดว่า สร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรี อยุธยา แต่มีการสันนิษฐานต่อมาว่าผู้ที่สร้างคือ "พระวิสุทธิกษัตริย์" พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และเป็นพระราชมารดาของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทย พระนางพญาเป็นราชินีแห่งพระเครื่องเป็นพระกรุเก่าแก่ เป็นหนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคี คือพระเครื่องยอดนิยม 5 องค์ ได้แก่ พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ, พระนางพญา จ.พิษณุโลก, พระซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร, พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี และ พระรอด จ.ลำพูน

"พระนางพญา หรือ พระพิมพ์นางพญา แม้เป็นพระแห่งยุคอยุธยา แต่ได้รับอิทธิพลพุทธศิลปะมาจากสกุลช่างสุโขทัย ในเรื่องสัดส่วน ทรวดทรง ศิลปะ อาจกล่าวได้ว่า การสร้างพระนางพญาเป็นการสืบสานศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ในรูปพระเครื่อง เป็นพระรูปทรงสามเหลี่ยมทุกพิมพ์นั่งมารวิชัยไม่ประทับบนอาสนะหรือมีฐานรองรับ รูปทรงงดงามแทบทุกพิมพ์โดยเฉพาะบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับผู้หญิง จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระพิมพ์นางพญา หรืออาจจะเรียกตามพระนามผู้สร้างคือ พระวิสุทธิกษัตรี"

ล่าสุด วัดนางพญา โดย "พระครูสุจิตธรรมวิมล" ได้ดำริจัดสร้าง พระนางพญาเบญจภาคีแห่งกฤตยาคมพลังพุทธาคมครอบจักรวาลขึ้น ชื่อ "รุ่นเศรษฐีนางพญา" วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดนางพญา ได้มีการจัดพิธีเททองหล่อปฐมฤกษ์ไปแล้ว ณ มณฑลพิธีอุโบสถวัดนางพญา เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2555 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งอธิษฐานจิต ปลุกเสกคุมธาตุวันเททอง ประกอบด้วย หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อชุบ วัดนางพญา จ.พิษณุโลก และหลวงพ่อพิทยา วัดหนองดง จ.พิจิตร เป็นต้น


กำหนดจัดให้มีพิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันจันทร์ที่ 11 ก.พ.2556 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

หลวงปู่ทวด พ่อท่านพรหม พิมพ์เตารีดใหญ่ รุ่น "ให้ รวย รวย"

หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด พระเครื่องเงินล้าน สุดยอดพระนิรันตรายแห่งแดนใต้

การจัดสร้างหลวงปู่ทวดครั้งแรกเป็น พระเครื่อง เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ.2497 นับเป็นปฐมบทแห่งการสร้างหลวงปู่ทวด อันเป็นที่ศรัทธาสูงสุดแห่งดินแดใต้สุดแห่งสยามโดยการริเริ่มของ อาจารย์ทิม แห่งวัดช้างไห้ จังหวักปัตตานี เพื่อเป็นสิ่งตอบแทนญาติโยมผู้ที่จะมาร่วมบริจาคบูชาสร้างโบสถ์วัดช้างไห้ ให้สำเร็จ จึงเ้ป็นที่มาของปาฏิหาริย์ศรัทธาอย่างมากของชาวพุทธทั่วทั้งประเทศไทย และ รวมถึงในต่างประเทศจนได้รับการขนานนามว่าเป็นสุดยอด "พระเครื่องนิรันตราย" กล่าวคือ ผู้ใดที่อาราธนาองค์หลวงปู่ทวด ติดตัวไว้จะไม่มีวันตายโหง

ไม่เพียงแต่ว่าจะต้องทำเป็นพิธีกรรมให้ถูกต้อง และศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ยังจะต้องมีมวลสารสำคัญที่จะต้องอยู่ในองค์หลวงปู่ทวดอยู่ด้่วย นั้นคือ ดินกากยายักษ์ ดินกากยายักษ์ นับเป็นดินที่ดำสนิท มีฤทธิ์เป็นยา มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ในตัวของดินเอง เป็นความอัศจรรย์ในเนื้อดินที่ไม่มีซากพืช ซากสัตว์ ปะปนอยู่ในมวลดิน และยิ่งไปกว่านั้นเอง ดินกากยายักษ์นั้นพบได้ที่เดียวคือที่จังหวัดยะลาเท่านั้น หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแล้วนั้น ความศักดิ์สิทธิ์ในองค์อาจไม่สมบูรณ์

พ่อท่านพรหม ธมฺมธิโร แห่งวัดพลานุภาพ จ.ปัตตานี อายุ 97 ปี พื้นเพท่านเป็นคนยะลาในตอนที่ท่านดำรงเพศฆราวาส ท่านเป็นทั้งหมอยาสมุนไพร และเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้าน ลาแมเมาะยี ในอ.ยะหา จ.ยะลา เป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือชาวบ้านทั้งชาวพุทธและมมุสลิมตลอดเวลา และดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาอย่างยาวนานถึง 18 ปี จนกระทั่งเกษียรอายุราชการ จึงเป็นที่เคารพและศรัทธาอย่างมากของชาวบ้านทั้งไทย-พุทธ ไทย-มุสลิม ในวาระที่พ่อท่านพรหม อายุครบรอบ 8 รอบ (96 ปี) เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมาบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายได้ร่วมกันแสดงมุทิตาจิตถวายแด่พ่อท่าน โดยการสร้างวิหารบูรพาจารย์ถวายพร้อมกันกับทำพิธีมหามงคลอย่างยิ่งใหญ่ รวมถึงพิธีมหาพุทธาภิเศกวัตถุมงคลที่บรรดาเหล่าศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดสร้างถวายในงานต่างๆอย่างมากมาย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2555 และได้นิมนต์บรรดาสุดยอดเกจิแห่งแดนใต้หลายท่าน เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ อาทิ พ่อท่านฉิ้น วัดเมือง ยะลา, พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ, พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม, พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย



หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ที่พ่อท่านดำริสร้างในงานนี้ พ่อท่านตั้งใจและพิถีพิถันเป็นอย่างยิ่ง ในเรื่องของชนวนมวลสาร ต้องครบถ้วนตามตำราการจัดสร้างหลวงปู่องค์ปฐมบทปี 2494 ของวัดช้างไห้ ที่มีประสบการณ์ล้นเหลือ มวลสารสำคัญที่ทำให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ต่อองค์หลวงพ่อทวดคือ ดินกากยายักษ์ ที่มีเฉพาะที่ยะลาที่เดียว พ่อท่านระบุจะต้องมีมวลสารสำคัญนี้ในการสร้างองค์หลวงพ่อทวด รวมถึงว่านมหามงคลที่พ่อท่านเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยที่เป็นหมอยาสมุนไพรให้มาบดรวมเป็นมวลสารในการสร้างองค์หลวงปู่ทวดรุ่นนี้ ดังนั้นลักษณะเด่นของเนื้อองค์หลวงปู่ทวด จะเป็นลักษณะเป็นคล้ายกันกับองค์หลวงปู่ทวดปี 2497 คือเป็นเนื้อว่านดินซึ่งมีไขขาววามเก่าขึ้นตามธรรมชาติของว่านและดินเป็นมวลสารที่ตำผสมกันอีกทั้งคลุกรักเพื่อไม่ให้เนื้อพระนั้นซุยหรือยุ่ยตามแบบโบราณ ยางรักนั้นใส่เพื่อเป็นตัวผสานให้ว่านและกินรวมถึงมวลสารอื่นๆ สามารถยึดเกาะได้้ดี

พ่อท่านพรหมตั้งใจสร้างองค์หลวงปู่ทวดรุ่นนี้ให้ครบถ้่วน ด้วยมวลสาร พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์อธิษฐานจิตโดยสุดยอดเกจิ เพื่อปรารถนามอบให้เป็นของขวัญ ของขลัง แด่ศิษยานุศิษย์ ในวาระครบ 8 รอบ จึงตั้งชื่อรุ่นว่า "ให้ รวย รวย" และขอในบารมีองค์พ่อทวด สุดยอดพระนิรันตรายบันดาลให้ผู้ที่ได้อาราธนาองค์หลวงปู่ทวดนี้ จงประสบแต่ความสุข สำเร็จสมหวังทุกประการ อย่างที่ได้อธิษฐานต่อองค์หลวงปู่ทวดนี้ทุดประการ ให้มีแต่ความเจริญ ให้ รวย รวย !!

หลวงปู่ทวด พ่อท่านพรหม พิมพ์เตารีดใหญ่ เนื้อผง

หลวงปู่ทวด พ่อท่านพรหม พิมพ์เตารีดใหญ่ เนื้อผง (หลัง)